วันที่เผยแพร่: 11 มิถุนายน 2565
"เจอปัญหากันประจำเวลาที่จะเทียบขนาดเนื้อที่บ้าน หรือพื้นที่ใช้สอยของบ้าน แต่ดันเป็นหน่วยวัดขนาดที่ดินที่ไม่คุ้นชิน หรือไม่เหมือนกัน แล้วจะให้แปลงเป็นค่าที่ต้องการก็แปลงไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี วันนี้ Theluckyname จะชวนมาทำความรู้จักกับหน่วยวัดขนาดที่ดินในไทยกันว่าเขาวัดอย่างไร แล้วถ้าจะแปลงค่าหน่วยวัดต่างๆ จะทำอย่างไรได้บ้าง . "
หน่วยที่ใช้วัดขนาดที่ดินในไทย
มาทำความรู้จักกันก่อนว่าหน่วยที่ใช้วัดขนาดที่ดินในไทยนั้น เราใช้อะไรกันบ้าง โดยหลักๆ แล้วการวัดพื้นที่ของที่ดิน บ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่เราใช้กันประจและเห็นได้บ่อยๆ ก็คือ
มาตราเทียบหน่วยที่ใช้วัดขนาดที่ดินในไทย
ในส่วนของการจะเทียบหรือแปลงค่าขนาดที่ดินให้เป็นหน่วยเดียวกันนั้น เราจะต้องรู้มาตราวัดเพื่อเทียบค่ากันก่อนครับ โดยมาตราวัดเทียบค่าจะมีประมาณนี้ครับ
1. มาตราเทียบหน่วยวัดขนาดที่ดิน
2. มาตราเทียบหน่วยวัดพื้นที่ใช้สอย
ส่วนใครที่รู้สึกว่ายุ่งยากเกินไป เรามีทริคง่ายๆ ในการแปลงค่ามาแชร์ครับ ดังนี้
สูตรการคำนวณพื้นที่ขนาดที่ดิน
นอกจากมาตราเทียบหน่วยวัดที่ดินแล้ว การหาพื้นที่ไม่เพียงเอาตัวเลขมาเทียบหรือแปลงค่าเฉยๆ แต่ยังต้องมีวิธีในการคำนวณพื้นที่ด้วยเรามาดูกันครับว่าพื้นที่แต่ละแบบไม่ว่าจะสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยมจะต้องคำนวณอย่างไรบ้าง
1. สูตรการคำนวณพื้นที่ที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า
หากพื้นที่ที่เราจะวัดขนาดที่ดินหรือพื้นที่ใช้สอยมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม ทั้งสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งจะมีลักษณะการทำมุมเป็น 90 องศา จะสามารถใช้สูตรคำนวณได้ตามนี้ครับ
ตัวอย่างการวัดขนาดที่ดิน
หากที่ดินมีความยาวด้านละ 40 วา ก็จะคำนวณเป็น 40 x 40 = 1,600 ตารางวา หรือ 4 ไร่ นั่นเองครับ
ตัวอย่างการวัดขนาดที่ดิน
หากที่ดินมีความกว้าง 20 วา และมีด้านยาว 30 วา ก็จะคำนวณเป็น 20 x 30 = 600 ตารางวาง หรือ 1 ไร่กับอีก 2 งาน นั่นเองครับ
2. สูตรการคำนวณพื้นที่ที่เป็นสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า
แน่นอนว่าหลายครั้งพื้นที่ที่เราจะวัดย่อมไม่ใช่พื้นที่แบบสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่อาจมีการทะแยง เอียง หรือมุมป้านไป แล้วคราวนี้จะวัดได้อย่างไรดี เราจะต้องใช้อีกสูตรคำนวณหนึ่งที่ต่างจากสูตรของสี่เหลี่ยมด้านเท่าครับ คือต้องใช้สูตรคำนวณ
ตัวอย่างการวัดขนาดที่ดินสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า
หากที่ดินมีเส้นทแยงมุม 12 วา และมีเส้นกิ่งซึ่งหมายถึงเส้นที่ลากจากมุมของสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าให้ตั้งฉาก 90 องศากับเส้นทแยงมุมเท่ากับ 3 และ 4 ก็จะเท่ากับ
1/2 x 12 x (3+4) = 42 ตารางวานั่นเองครับ
3. สูตรการคำนวณพื้นที่ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม
นอกจากพื้นที่จำพวกสี่เหลี่ยมแล้ว เรายังมีพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยมอีกด้วยนะครับ ซึ่งสูตรคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยมก็คือ 1/2 x (ฐาน x สูง)
ตัวอย่างการวัดขนาดที่ดินที่เป็นรูปสามเหลี่ยม
หากกำหนดให้สามเหลี่ยมมีฐาน 20 วา และสูง 12 วา ก็จะคำนวณได้แบบนี้ครับ 1/2 x (20 x 12) เท่ากับ 120 ตารางวานั่นเองครับ
ต่อไปการแปลงค่าขนาดที่ดิน หรือการวัดขนาดที่ดินด้วยตนเองคงจะไม่ยากอีกต่อไปที่เรารู้มาตราหรือวิธีคำนวณที่ถูกต้อง ลองนำไปใช้วัดขนาดเนื้อที่บ้าน คอนโด หรือที่ดินกันได้นะคะ