น่ารู้ !! ลำดับขั้นตอนการใช้ฤกษ์ ในพิธีการแต่งงานแบบไทย ภายใน 1 วัน
น่ารู้ !! ลำดับขั้นตอนการใช้ฤกษ์ ในพิธีการแต่งงานแบบไทย ภายใน 1 วัน

วันที่เผยแพร่: 16 สิงหาคม 2565


"การจัดงานแต่งงานเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและค่อนข้างจะมีขั้นตอนที่หลากหลาย คู่บ่าวสาวควรศึกษาขั้นตอนการแต่งงานที่ถูกต้องตามประเพณีเอาไว้ให้ดี เพราะบางทีคุณอาจจะต้องทำพิธีแต่งงานทั้งไทยในวันเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใหญ่สบายใจ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีคู่รักหลายๆคู่ที่อยากจะแต่งงานแบบเรียบง่าย จบ ครบ ใน 1 วัน แต่ไม่ทราบจะเริ่มดำเนินการไปอย่างไรดี วันนี้ Theluckyname ก็มีลำดับพิธีการแต่งงานแบบไทย ที่ครบทุกพิธีการ มาให้คู่แต่งงานไว้ศึกษาและเตรียมตัวกัน ดังนี้ . "

น่ารู้ !! ลำดับขั้นตอนการใช้ฤกษ์ ในพิธีการแต่งงานแบบไทย ภายใน 1 วัน

การจัดงานแต่งงานเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและค่อนข้างจะมีขั้นตอนที่หลากหลาย คู่บ่าวสาวควรศึกษาขั้นตอนการแต่งงานที่ถูกต้องตามประเพณีเอาไว้ให้ดี เพราะบางทีคุณอาจจะต้องทำพิธีแต่งงานทั้งไทยในวันเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใหญ่สบายใจ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สิ่งที่สำคัญไม่แพ้พิธีการก็คือการหาฤกษ์มงคลประกอบพิธี ซึ่งการแต่งงานแบบไทยตามหลักโบราณนั้นในพิธีควรประกอบด้วยฤกษ์แต่งงานทั้ง 4 พิธี ได้แก่ ฤกษ์แห่ขันหมาก ฤกษ์หมั้น ฤกษ์รดน้ำสังข์ และฤกษ์ส่งตัวเข้าหอ ซึ่งฤกษ์ย่อยประกอบการมงคลควรเป็นฤกษ์ที่เรียกว่าบูรณะฤกษ์ ได้แก่ มหัธโนฤกษ์ ราชาฤกษ์ ภูมิปาโลแห่งฤกษ์ เทวีฤกษ์ ก็จะช่วยส่งเสริมดวงชาตาเจ้าบ่าวและเจ้าสาวให้ รักกันยืนยาวถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร มีลูกหลานสืบสกุล

ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีคู่รักหลายๆคู่ที่อยากจะแต่งงานแบบเรียบง่าย จบ ครบ ใน 1 วัน แต่ไม่ทราบจะเริ่มดำเนินการไปอย่างไรดี วันนี้  / theluckyname ก็มีลำดับพิธีการแต่งงานแบบไทย ที่ครบทุกพิธีการ มาให้คู่แต่งงานไว้ศึกษาและเตรียมตัวกัน ดังนี้

พิธีสงฆ์

บ่าวสาวมายังห้องจัดงาน นั่งประจำที่ (หญิงซ้าย-ชายขวา) เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่พิธีสงฆ์

- พิธีกรกล่าวเชิญบ่าวสาวจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (จุดเทียนจากกลาง ซ้าย ขวา) บ่าวสาวกราบพระพุทธ 3 ครั้ง พระสงฆ์ 3 ครั้ง

- พิธีกรกล่าวนำบทสวดบูชาพระรัตนตรัยและอาราธนาศีล บ่าวสาวกล่าวตาม

- พิธีกรกล่าวนำอาราธนาพระปริวัตร บ่าวสาวกล่าวตาม

- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

- พิธีกรกล่าวนำ ตั้งนะโม 3 จบ กล่าวคำถวายสำรับพระพุทธและกล่าวคำถวายภัตตราหารแก่พรสงฆ์ บ่าวสาวกล่าวตาม

- บ่าวสาวร่วมกันประเคนภัตตราหาร และหลังจากพระสงฆ์ฉันภัตตราหารเรียบร้อย บ่าวสาวจึงลุกไปตักบาตร ถวายดอกไม้ ธูป เทียนและเครื่องไทยธรรม (ซองปัจจัย 9 และของถวาย 9 ชุด) และกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

- บ่าวสาวรับน้ำพุทธมนต์ และกราบพระสงฆ์ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีสงฆ์

 

พานขันหมากและข้าวของเครื่องใช้สำหรับพิธีแต่งงาน

 

พิธีแห่ขบวนขันหมากและพิธีกั้นประตูเงินประตูทอง

ตั้งขบวนแห่ขันหมาก (ควรใช้ฤกษ์แห่ขันหมากประกอบพิธี)

- ฝ่ายชายเริ่มเดินเข้าขบวนขันหมาก โดยให้เริ่มขบวนโดยอยู่ในฤกษ์แห่ขันหมากมงคลโดยมีเถ้าแก่หรือญาติผู้ใหญ่เป็นผู้เดินนำขบวน ตามด้วยพ่อแม่เจ้าบ่าว และจึงเป็นเจ้าบ่าวในลำดับที่ 3 แล้วจึงเป็นพานพันหมากต่างๆ เรียงตามกันมาเป็นคู่ ก่อนถึงประตู ญาติฝ่ายหญิงเตรียมพานหมากพลูไว้รอรับ

- เมื่อขบวนขันหมากมาถึงหน้าประตู ญาติหรือเพื่อนเจ้าสาวจะตั้งแถมกั้นประตูเงินประตูทองรอไว้อยู่แล้ว ฝ่ายชายต้องผ่านด่านประตูเงินประตูทองให้ได้ โดยจะแจกซองเป็นค่าเปิดทาง  

- ญาติฝ่ายหญิงรอรับพานขันหมาก

 

พิธีสู่ขอและนับสินสอด

บ่าวสาวนั่งประจำที่ด้านหน้าผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อเตรียมตัวทำพิธีสู่ขอ (หญิงซ้าย-ชายขวา)

- เถ้าแก่คลีผ้าหอขันหมากออก พร้อมส่งหมากพลูให้ฝ่ายหญิง เป็นคำทักทายตามแบบคนโบราณ ซึ่งญาติฝ่ายหญิงจะรับมาพอเป็นพิธี

- เถ้าแก่ฝ่ายชายเริ่มเจรจาสู่ขอ เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงยอมยกลูกสาวให้ ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวจะนำพานสินสอดออกมานับพอเป็นพิธี โรยข้าวตอกดอกไม้ลงบนสินสอด แล้วจากนั้น แม่เจ้าสาวจะห่อสินสอดด้วยผ้าแดงและยกขึ้นพาดบ่าตามประเพณี

 

นับสินสอด

พิธีหมั้นหมาย (ควรใช้ฤกษ์หมั้นประกอบพิธี)

บ่าวสาวนั่งประจำที่ด้านหน้าผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อเตรียมตัวเข้าพิธีสวมแหวนหมั้น (หญิงซ้าย-ชายขวา)

- รอฤกษ์หมั้น จากนั้น เจ้าบ่าวจะสวมแหวนหมั้นให้แก่เจ้าสาว (ให้สวมแหวนหมั้นภายในระยะเวลาของฤกษ์มงคล)

- เจ้าสาวไหว้ที่บ่าหรือที่ตักเจ้าบ่าว พร้อมกับสวมแหวนแลก (แหวนแต่งงาน) ให้กับฝ่ายชาย

 

พิธีหลั่งน้ำสังข์ (แต่งงานแบบไทย) (ควรใช้ฤกษ์รดน้ำสังข์ปรพกอบพิธี)

บ่าวสาวนั่งที่ตั่งเพื่อทำพิธีรดน้ำสังข์

- ประธานในพิธีสวมมงคลแฝดและเจิมหน้าผากให้บ่าวสาว  ให้ประธานคนแรกเริ่มรดน้ำสังข์ในฤกษ์รดน้ำสังข์มงคล โดยจุดเริ่มต้นของฤกษ์อิงจากประธานคนแรกรดน้ำสังข์เสร็จพร้อมกล่าวคำอวยพรแก่คู่บ่าวสาว แล้วจึงตามด้วย พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่และแขก ตามลำดับ

พิธีส่งตัวเจ้าสาว (ควรใช้ฤกษ์ส่งตัวประกอบพิธี)

เจ้าบ่าวรออยู่ในห้องหอ

- แม่เจ้าสาวส่งตัวเจ้าสาวให้แก่เจ้าบ่าว พร้อมกับฝากฝังดูแล ควรเริ่มต้นในฤกษ์ส่งตัวเข้าหอ

- ผู้ใหญ่หยิบเครื่องพิธี ฟักเขียว หินบดยา ถุงเงินถุงทอง ถุงใส่ถัวงาและข้าวตอกดอกไม้ โรยลงบนที่นอน

- คู่ผู้ใหญ่ที่อยู่กินกันมานานล้มตัวลงนอนบนเตียงพอเป็นพิธี แล้วจึงจูงมือบ่าวสาวขึ้นนอนบนเตียง ให้โอวาทการครองเรือนและกล่าวอวยพร

- ผู้ใหญ่ปล่อยตัวบ่าวสาวไว้ตามลำพัง

 

พิธีส่งตัวเจ้าสาว

หลังจากเสร็จพิธีแต่งงานแบบไทย ในช่วงเช้า บ่าวสาวจะเรียนเชิญแขกที่มาร่วมงาน ร่วมรับประทานอาหาร พร้อมกับถ่ายรูปร่วมกัน จึงเป็นอันจบพิธีแต่งงานในช่วงเช้าอย่างเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ ขั้นตอนและพิธีการต่างๆ บ่าวสาวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่เห็นสมควร เพียงแค่รู้ลำดับพิธีนิดหน่อยเท่านั้น งานแต่งงานก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับบ่าวสาวรุ่นใหม่ทุกคนแล้ว

 

← ย้อนกลับ

theluckyname
theluckyname
theluckyname