ท่านอนที่เหมาะกับลูกน้อย
ท่านอนที่เหมาะกับลูกน้อย

วันที่เผยแพร่: 5 มกราคม 2560


"คงเคยได้ยินข่าวทำนองนี้มาบ้าง เรื่องราวของเด็กแรกเกิดที่เกิดอาการลมหายใจหยุดนิ่งสนิทในขณะที่หลับ โดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งมีข้อสังเกตเด่นชัดอย่างเดียวว่า เด็กทารกที่เสียชีวิตส่วนมากมักจะอยู่ในลักษณะสภาพนอนคว่ำหน้าทั้งนั้น . "

ท่านอนที่เหมาะกับลูกน้อย

รู้จัก “SIDS” + ท่านอนหงาย

        สถานการณ์อันตรายนี้มีชื่อเรียกว่า “SIDS” (Sudden Infant Death Syndrome) จะเป็นอาการหมดลมหายใจอย่างเฉียบพลันโดยปราศจากสาเหตุใด ๆ ของเด็กทารกในวัยระหว่าง 0 – 1 ขวบ และเป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ มักจะเกิดขึ้นกับเด็กในประเทศที่มีความเจริญขั้นพื้นฐานสูงๆ อย่างฝรั่งมังค่ามากกว่าประเทศที่มีการพัฒนาและเจริญปานกลางอย่างในเอเชียของเราซึ่งมักจะไม่ค่อยปล่อยให้ลูกน้อยนอนคนเดียว

        ในประเทศสหรัฐฯ ได้มีโครงการ “ให้เด็กนอนหงาย” (back to sleep) โดยแนะนำให้จัดท่านอนเด็กเป็นท่านอนหงายตั้งแต่ปี 2535 พบว่าการตายจากโรค SIDS ลดลงอย่างชัดเจน โดยจากการวิจัยหลายแหล่งพบว่าการนอนคว่ำมีความเสี่ยงต่อการกดทับจมูกปากจนขาดอากาศหายใจมากกว่าการนอนหงาย 2 – 7 เท่าตัว

  • นอนคว่ำ...ใช่ว่าไม่ดี

        ถือเป็นท่านอนที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากท่านอนในสภาพนี้จะทำให้ลูกน้อยมีโอกาสใช้ความพยายามในการที่จะยกชันคอศีรษะให้สูงขึ้น และทำให้เกิดการพัฒนาเมื่อถึงขั้นตอนของการคืบหรือคลานได้อย่างง่ายดายและเร็วขึ้นกว่าธรรมดาอีกด้วย  ข้อดีอีกข้อหนึ่งก็คือเป็นท่านอนที่ทำให้เด็กรู้สึกสบายและผ่อนคลายสงบและทำให้นอนหลับได้นานกว่าในท่านอนอื่นๆ รวมทั้งทำให้มีรูปทรงของศีรษะทุยสวยอีกต่างหาก

  • แล้วท่านอนตะแคงล่ะ

        ท่าตะแคงก็เป็นท่าที่ให้ลูกน้อยนอนได้ เพียงแต่ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 เดือน เค้าอาจพลิกตัวมานอนคว่ำได้ซึ่งถือเป็นท่าอันตรายเหมือนกัน แต่การนอนตะแคงข้างก็มีข้อดีคือ ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กบริเวณส่วนเท้าและสะโพกและใบหน้ากับช่วงอกของเขาก็ไม่ถูกแรงกดจากการนอนด้วยค่ะ อย่างไรก็ดีถ้าคุณแม่กังวลไม่อยากให้ลูกน้อยนอนตะแคงบ่อยๆ ก็อาจใช้ผ้าขนหนูช่วยหนุนหรือรองรับด้านหลังของเขาไว้

  • ท่านอนที่ดีควรเป็นอย่างไร

        ท่านอนที่ดีสำหรับลูกน้อยเพื่อให้กล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกของร่างกายได้รับการพัฒนาอย่างดีและถูกต้อง เราควรจับลูกให้ได้นอนทุกๆ ท่า ไม่ว่าจะเป็นการนอนหงาย ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา แม้กระทั่งท่านอนคว่ำ ยกเว้นตอนนอนหลับยาว ๆ อย่างช่วงเวลากลางคืน รอให้ลูกอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปดีกว่าค่ะ เพราะเด็กเริ่มตะแคงหน้า และยกศีรษะได้แข็งแรงแล้ว แต่อย่างไรก็ต้องระมัดระวังไว้บ้างก็ดีค่ะ

        นอกจากนั้น เรายังจะต้องคอยสังเกตการณ์จับนอนตะแคงซ้ายหรือขวาให้เปลี่ยนไปมาบ่อยๆ และเท่าๆกัน อย่างเช่นเมื่อคุณแม่อุ้มลูกน้อยขึ้นมาเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือป้อนนมก็จะต้องคอยสังเกตดูว่าลูกนอนตะแคงอยู่ด้านไหนเมื่อหลังป้อนนมเสร็จแล้วก็ควรจับตัวลูกให้ตะแคงในด้านตรงกันข้ามต่อไป

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากนิตยสาร

M&C  แม่และเด็ก

 Tags: ท่านอนลูก, ตั้งชื่อลูก, theluckyname

← ย้อนกลับ

theluckyname
theluckyname
theluckyname